หลังจากที่ผมเจอกาแฟที่ไม่ค่อยถูกใจที่โรงแรม ใช่แล้วครับ เนสกาแฟเร้ดคัพอีกแล้วครับ ผมว่าถึงเวลาที่ผมต้องเอากาแฟดริปติดตัวไปด้วยแล้ว ผมไปที่บิ๊กซีแล้วก็คว้ากาแฟ pour over หรือที่เรียกกันว่ากาแฟดริปนั่นแหละครับ มันมีอยู่ 2 ยี่ห้อครับคือ ดอยตุงกับ Coffee Bean
ผมเพิ่งจะลองชงทั้งสองยี่ห้อนี่ครับ และนี่ก็เป็นรีวิวที่ผมแบบอ่อนน้อมถ่อมตนของผมครับ
กาแฟดริปของดอยตุง

กาแฟดริปของดอยตุงราคาอยู่ที่ 180 บาท มีทั้งหมด 6 ซองด้วยกันนะครับ (ตกซองละ 30 บาทพอดีเป๊ะ) ดอยตุงแนะนำให้ใช้น้ำปริมาณ 120 ม.ล. ต่อ 1 ซองในการชง ซึ่งสำหรับผมแล้วมันได้แก้วเล็กมากๆ ไม่พอสำหรับคนติดกาแฟอย่างผม ส่วนมากผมจะชงกาแฟประมาณ 380 ม.ล. ในตอนเช้า ซึ่งจะเท่ากับต้องดื่มกาแฟดอยตุงถึง 3 ซอง (ตกประมาณ 90 บาทเฉพาะตอนเช้า) ถุงกาแฟดริปมีกาแฟบรรจุอยู่ 10 กรัม ซึ่งแปลว่าเมื่อเทียบกับน้ำ 120 ม.ล.แล้วนั้นอัตราส่วนจะเป็น 12: 1 (กาแฟ 1 กรัมต่อน้ำ 12 ม.ล.) อัตราส่วนนี้ค่อนข้างเข้มมาก เพราะว่าการชงกาแฟดริปโดยทั่วไปจะใช้อัตราส่วนที่ 15-17: 1

โอเคหมดเรื่องเลขแล้วนะครับ ตอนนี้มาพูดถึงเรื่องรสชาติกันบ้าง ดอยตุงใช้เมล็ดกาแฟแบบ single origin จากภูเขาของเชียงราย และเป็นอาราบิก้า 100 % เมื่อเปิดซองฟอยล์ออกมาก็จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆของกาแฟ ไม่หอมเหมือนกับเมล็ดกาแฟที่บดใหม่ๆแต่ก็ไม่แย่ครับ มันมีกลิ่นของช็อคโกแลตนซองฟอยล์ด้วย ซองกาแฟดริปใส่ได้พอดีกับแก้วครับ แต่ผมไม่แนะนำให้ใช้แก้วที่ปากกว้างเพราะว่าถุงกาแฟดริปจะตกลงไปในแก้วแล้วมันจะกลายเป็นการชงชาไปครับ

ในซองมีวิธีชงอยู่ซึ่งเค้าแนะนำว่าให้เทน้ำร้อนลงไปที่เมล็ดก่อนเล็กน้อยแล้วรอประมาณ 20-30 วินาทีเพื่อบลูมกาแฟ การบลูมกาแฟนั้นเพื่อช่วยให้เมล็ดกาแฟบดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาซึ่งช่วยให้เกิดการสกัดที่ดีขึ้น กาแฟดริปซองนี้ชงได้ดีครับเพราะว่าน้ำกาแฟมันค่อยๆหยดลงมาทีละน้อยและสม่ำเสมอ เวลาในการชงกาแฟดริปถ้วยนี้อยู่ที่ 2 นาที 20 วินาที

จิบแรกที่ดื่มกาแฟดริปจากดอยตุงนั้นมันให้ความ bright และมี acidic ด้วย ในแพคเกจของกาแฟดริปนี้ไม่ได้บอกระดับการคั่วเมล็ดกาแฟแต่ผมพูดได้ว่ามันน่าจะเป็นการคั่วอ่อนเพราะว่าจาก acid ที่เกิดขึ้นในลิ้นของผม (มันให้รสที่ค่อนข้างเปรี้ยวเลยครับ) กลิ่นหอมของกาแฟและความรู้สึกสะอาดจากกาแฟดริปถ้วยนี้มันทำให้ผมเลือกกาแฟดริปตัวนี้มากกว่ากาแฟสำเร็จรูปแน่นอนครับ ผมชอบกาแฟดริปนี้มากเพราะปกติแล้วผมจะชอบชงกาแฟแบบคั่วเข้มซึ่งมันก็สนุกดีที่ได้ดื่มอะไรที่แตกต่างไปโดยไม่ต้องไปซื้อกาแฟคั่วอ่อนแบบถุงใหญ่ๆ
กาแฟดริปของ The Coffee Bean

กาแฟดริปของ The Coffee Bean มีทั้งหมด 10 ซอง ในราคา 240 บาท ดังนั้นมันเลยถูกกว่ากาแฟดริปของดอยตุงเล็กน้อย แต่มันบรรจุในซองกาแฟดริปแค่ 8 กรัมเท่านั้นครับ บนซองกาแฟดริปแนะนำว่าให้ใส่น้ำ 150 ม.ล. ดังนั้นอัตราส่วนจะอยู่ที่ ( 18.75 กรัม: 1 ม.ล.) ดังนั้นกาแฟดริปของดอยตุงจะมีความเข้มข้นกว่ากาแฟดริปของ The Coffee Bean มาก ซึ่งสมเหตุสมผลที่กาแฟดริปของดอยตุงแพงกว่า
โดยรวมแล้วกาแฟดริปของ The Coffee Bean ให้ข้อมูลบนซองเกี่ยวกับระดับการคั่วของเมล็ดกาแฟที่ใช้และมี tasting notes ให้ด้วย – เห็นได้ชัดเจนว่ากาแฟดริปซองนี้ควรเขียนบนซองว่า มีรสขมและมีกลิ่นหอม บนซองไม่ได้เขียนว่าเมล็ดกาแฟมาจากที่ไหนแค่บอกว่าอาราบิก้า 100%

ผมเปิดซองออกมาก็มีกลิ่นของกาแฟครับ แต่ว่ามันอ่อนกว่าของดอยตุงมาก ผมว่ามันมีกลิ่นอ่อนมากแล้วก็มีกลิ่นไหม้เล็กน้อยด้วย ดูเผินๆตรงถุงกาแฟของทั้งสองยี่ห้อมันเหมือนกันมาก แต่ถ้าคุณลองสังเกตดีๆจะเห็นความแตกต่างอยู่ซึ่งก็สามารถเห็นได้ชัดเมื่อตอนคุณชงกาแฟด้วย บนซองกาแฟดริปของ The Coffee Bean ไม่ได้บอกให้บลูมกาแฟ ดังนั้นผมก็จะไม่บลูมแต่จะเทน้ำร้อนลงไปเลย ผมค่อยๆเทน้ำร้อนลงไปและจับเวลาในการชงได้ที่ 1 นาที เร็วกว่าของดอยตุงมาก ซึ่งเวลาเฉลี่ยในการชงกาแฟดริปนั้นควรอยู่ที่ 2.5-4 นาที ขึ้นอยู่กับลักษณะการคั่วและปริมาณในการชงครับ
จิบแรกของกาแฟดริป The Coffee Bean ค่อนข้างน่าผิดหวังแต่ก็ยังดีกว่ากาแฟสำเร็จรูป ผมอธิบายรสชาติของมันไม่ค่อยถูกแต่มันทำให้ผมนึกถึงกาแฟสำหรับมื้อค่ำ แต่ผมจะบอกว่าเมื่อผมปล่อยให้กาแฟเย็นลงมันคงรสชาติได้กว่าของดอยตุง กาแฟดริปของดอยตุงมันเปรี้ยวมากอย่างรวดเร็ว แต่กาแฟดริปของ The Coffee Bean ยังคงรสชาติเดิมอยู่แม้จะเย็น
สรุปการเปรียบเทียบกาแฟดริปของ 2 ยี่ห้อ
รีวิวกาแฟดริป | กาแฟดอยตุง | The Coffee Bean |
฿/cup | 30฿ | 24 บาท |
Aroma | กลิ่นแรงกว่า | กลิ่นจางมาก |
Taste | ใสกว่า | ขมกว่า |
H2O/Coffee | 12:1 (ได้กาแฟเข้ม) | 18.75:1 (ได้กาแฟอ่อน) |

สรุปแล้วผมชอบกาแฟดริปของดอยตุงมากกว่าเพราะว่าระดับการคั่ว การบลูม และระยะเวลาในการชงซึ่งมันซับซ้อนและให้รสชาติของกาแฟดริปที่ลุ่มลึกมากกว่า เหมาะสำหรับดื่มในตอนเช้าในขณะที่คุณไปข้างนอก